มารู้จักที่มาของ ก๊าซหุงต้ม กันเถอะ
|มารู้จักที่มาของ ก๊าซหุงต้ม กันเถอะ!!!!
คนสมัยก่อนกว่าจะปรุงอาหารที ต้องเสียเวลากับการจุดไฟที่ใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่ปัจจุบันสะดวกขึ้นมาก เพราะมีค้นพบเชื้อเพลิงแบบใหม่ ทำให้การประกอบอาหารแต่ละครั้งง่ายและไม่ต้องเสียเวลามาก ความหมายของ “ก๊าซ” คือ เชื้อเพลิง สำหรับ ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)นั้นมีชื่อทางการค้าว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ ก๊าซแอลพีจี นิยมใช้ในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน และจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ
ในก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดได้แก่
- ก๊าซมีเทน ; ใช้ผลิตไฟฟ้า ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และใช้กับรถยนต์ ซึ่งก็คือก๊าซ ซีเอ๊นจี หรือ เอ็นจีวี
- ก๊าซอีเทน+โพรเพน; ใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานปิโตรเคมี
- ก๊าซโพรเพน+บิวเทน; ใช้ในโรงงานปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ และใช้เป็นก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)
ก๊าซหุงต้ม เป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ ทำให้เกิดการสะสม และลุกไหม้ได้ง่าย เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ไม่มีเขม่าและขี้เถ้า ติดไฟง่าย ดับได้เร็ว ให้เปลวไฟความร้อนสูงสะดวกในการหุงต้มอาหาร
ลักษณะของก๊าซหุงต้ม มีดังนี้
- ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่ผู้ผลิต เติมสารที่มีกลิ่นฉุนแทน เพื่อใช้เตือนภัยเมื่อเกิดก๊าซรั่ว
- ตัวก๊าซหุงต้มเองไม่มีพิษ แต่ถ้าเกิดเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ก็จะเกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์ และถ้าสูดดมเข้าไปมากๆ ก๊าซจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในร่างกาย จะทำให้มึนงง เวียนศรีษะ และอาจเสียชีวิตได้
- แอลพีจี หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดก๊าซรั่ว จะลอยต่ำลงสู่พื้น
- ก๊าซหุงต้มเหลว 1 ลิตร ขยายตัวเป็นไอได้ประมาณ 250 เท่า ดังนั้นควรบรรจุก๊าซในถังไม่เกิน 85% ของปริมาณถัง เพื่อให้มีที่ว่างในการขยายตัวของก๊าซ
ทำไมเราถึงใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซแทนเชื้อเพลิงจากไม้ มาดูกัน
*เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด สะดวกต่อการใช้งาน
*จุดติดไฟง่าย ดับได้เร็ว
*ไม่มีเขม่า ขี้เถ้า
*ใช้พื้นที่วางน้อย
*ปรับปริมาณความร้อนได้ตามต้องการ
*อาหารสุกเร็วกว่า
*ลดการตัดไม้ทำลายป่า
ขอบคุณความรู้ดีๆจาก*** สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน***